อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึง สิ่งหนึ่งสิงใด ที่สวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่ายกาย หรือหลายส่วน เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ หรืออันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น เสียงดัง แสง สารเคมี รวามร้อน การตกจากที่สูง วัสดุกระเด็นเข้าตา วัสดุหล่นกระแทก หรือทับ เป็นต้น แบ่งเป็น

  1. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ 
  2. อุปกรณ์ป้องกันหู
  3. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า และดวงตา
  4. อุปกรณ์ป้องกันมือ
  5. อุปกรณ์ป้องกันเท้า
  6. อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ
  7. อุปกรณ์ป้องกันลำตัว แขน และขา
  8. อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง


 ที่มา : กรมสวัสดิการ และคุ้มกรองแรงงาน


อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Devices = PPD หรือ Personal Protective Equipment = PPE) หรือเรียกโดยย่อว่า อุปกรณ์นิรภัย หรือ เซฟตี้ เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงานใช้สวมใส่ร่างกาย หรือ ติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ให้เกิดความปลอดภัย ทั้งในบ้าน, ที่ทำงาน, ที่สาธารณะ, อาคาร และพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย

หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ขณะทำงาน เพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสภาพ และสิ่งแวดล้อมการทำงาน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีการป้องกัน อันตรายจากการทำงาน โดยทั่วไปจะยึดหลักการป้องกัน ควบคุมที่สิ่งแวดล้อมการทำงานก่อน ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลมาแทน


การเลือก และใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

การเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ผู้รับผิดชอบควรยึดหลัก ดังนี้

  1. เลือกซื้อให้เหมาะสมกับลักษณะอันตราย ที่พบจากการทำงาน
  2. อุปกรณ์ที่เลือก ควรได้รับการตรวจสอบ และรับรองตามมาตรฐาน
  3. มีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันอันตราย และทนทาน
  4. มีน้ำหนักเบา สวมใส่สบาย ขนาดเหมาะสมกับผู้ใช้ และง่ายต่อการใช้
  5. มีให้เลือกหลายแบบ และหลายขนาด
  6. การบำรุงรักษาง่าย อาหลั่ยหาซื้อง่าย และไม่แพงเกินไป
  7. ให้ความรู้กับผู้ใช้ในเรื่องประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันอันตราย วิธีการเลือกใช้ การสวมใส่ที่ถูกต้อง และการบำรุงรักษา
  8. มีแผนการชักจูงการใช้ การปรับตัวในการใช้ระยะแรก และส่งเสริมการใช้
  9. ให้รางวัลสำหรับผู้ใช้ที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ การใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  10. มีปริมาณพอเพียงกับจำนวนผู้ใช้
  11. กรณีที่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลชำรุด ต้องเปลี่ยน หรือซ่อมแซมได้